วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

บทที่ 12 โยคะลดเมื่อย


คุณทราบไหมว่าการฝึกโยคะนั้นมีประโยชน์นานาประการไม่ใช่เป็นเพียงแค่การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ระบบโลหิตไหลเวียนดี สมองปลอดโปร่งเพราะมีโลหิตไปหล่อเลี้ยง ช่วยให้ต่อมต่างๆทำงานได้ดีเพราะได้รับการกระตุ้น  ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี ทำให้การเคลื่อนไหวสง่างามทุกท่วงท่า ผู้ที่ฝึกโยคะเป็นประจำจะมีใบหน้าอ่อนเยาว์และผิวพรรณที่ผ่องใสเพราะระบบเลือดทำงานดี มีรูปร่างที่สมส่วน โรคภัยไข้เจ็บจะคุกคามผู้ที่ฝึกโยคะยากเนื่องจากระบบการทำงานภายในร่างกายค่อนข้างแข็งแรง
                นอกจากนี้การฝึกโยคะยังช่วยป้องกันอาการปวดเมื่อยต่างๆตามร่างกายได้ เพราะการฝึกทุกครั้งจะเป็นการคลายเส้นเอ็นร่างกายทุกเส้น ดังนั้นผู้ฝึกโยคะเป็นประจำจึงไม่มีอาการเส้นตึง ไม่ว่าทำสิ่งใดก็ยากที่จะเกิดอาการปวดเมื่อย   ดังนั้นในบทนี้ดิฉันจึงขอนำเสนอการฝึกโยคะอย่างง่ายๆเพื่อลดอาการเส้นตึงอันจะนำมาสู่กรเกิดอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกาย
ในการฝึกโยคะมีท่าฝึกหลายท่ามีผลต่อร่างกายแตกต่างกันไป แต่หากต้องการฝึกเพื่อลดการเกิดอาการตึงของเส้นเอ็น อาจใช้เพียงท่าพื้นฐานหรือท่าอบอุ่นร่างกายของการฝึกโยคะได้ และท่าฝึกโยคะที่ดิฉันคิดว่าเหมาะสมจะฝึกเป็นประจำเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยคือ ท่าสุริยนมัสการหรือท่าไหว้พระอาทิตย์มีขั้นตอนปฎิบัติดังนี้


ขั้นตอนก่อนฝึกโยคะ


1.อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด


2.สวมเสื้อผ้าที่กระชับกระเฉง  เลือกเสื้อผ้าที่สามารถยืดหยุ่นได้สะดวก


3.จัดเตรียมอาสนะหรือเสื่อ หรือเบาะรองนุ่มๆสำหรับใช้ยืนฝึก


4.หาสถานที่ฝึกโยคะที่อากาศถ่ายเทสะดวก และเป็นที่โล่ง


5.ควรรับประทานอาหารก่อนทำการฝึกประมาณ 1 ชั่วโมง




ขั้นตอนการฝึกโยคะท่าสุริยะนมัสการหรือท่าไหว้พระอาทิตย์



นั่งสมาธิวอร์มลมหายใจเป็นเวลา 10 นาที  (ก่อนฝึกโยคะทุกครั้งต้องมีการวอร์มการหายใจ วิธีการหายใจแบบโยคะ คือ หายใจเข้าท้องแฟบ หายใจออกท้องป่อง ควรฝึกปฏิบัติจนกระทั่งทำได้เพราะนี่คือวิธีการหายใจที่ถูกต้อง จะทำให้เราสูดก๊าซออกซิเจนเข้าปอดได้มากขึ้นและส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นจนสังเกตได้ )


1.หลังจากวอร์มลมหายใจแล้ว ยืนตัวยตรง เท้าชิด แขนสองข้างแนบลำตัว (จากนั้นหงายฝ่ามือ หายใจเข้า วาดแขนทั้งสองขึ้นด้านข้างเหนือศรีษะ ฝ่ามือประกบกัน แขนเหยียดตรง


2.หายใจออก ก้มลำตัวและศรีษะมาข้างหน้าจนกระทั่งหน้าผากชิดเข่า ขาเหยียดตรง (หรืองอเข่าเล็กน้อย) ฝ่ามือทั้งสองวางราบกับพื้นด้านหน้า


3.หายใจเข้า เงยคางเล็กน้อย ตามองไปข้างหน้าขณะเดียวกันพยายามยืดหลังและแขนจนปลายนิ้วมือแตะพื้น จากนั้นเลื่อนมือมาวางข้างเท้าทั้งสอง ให้ปลายนิ้วมือเสมอปลายนิ้วเท้า ความกว้างของแขนเสมอความกว้างของไหล่


4.หายใจออก เลื่อนขาขวาไปด้านหลังจนสุดขาเปิดส้นเท้า โยกลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย (น้ำหนักอยู่ที่เท้าซ้าย) หายใจเข้า เงยคางขึ้น และยืดหลังตรง พร้อมกับยกแขนทั้งสองขึ้นเหนือศรีษะ นิ่งค้างไว้สักครู่นับ 1-3 หายใจออก ลดแขนลง มือวางข้างเท้าทั้งสอง ปลายนิ้วมือเสมอปลายนิ้วเท้า


5.หายใจเข้า เลื่อนขาซ้ายไปชิดเท้าขวาด้านหลังจนสุดขาแขนตั้งตรง ลำตัวตั้งแต่ศรีษะถึงส้นเท้าเป็นแนวตรง  ส้นเท้าทั้งสองเปิด ฝ่ามือราบกับพื้น


6.หายใจออก งอข้อศอกแนบลำตัว ค่อยๆ ลดลำตัวลง ส้นเท้ายังคงเปิด ออกแรงดันฝ่ามือกดพื้นในท่าวิดพื้น นิ่งค้างไว้ นับ 1-3 จากนั้นวางลำตัวราบกับพื้น


7.หายใจเข้า วางหลังเท้าแนบกับพื้นเงยหน้า แอ่นอก ดันลำตัวขึ้น จนกระทั่งหน้าท้อง ต้นขาลอยเหนือพื้น แขนสองข้างเกือบตรง ไหล่ไม่ล

8.หายใจออก ตั้งปลายเท้าขึ้น ยกลำตัว และสะโพกขึ้น จนลำตัวทำมุมเป็นรูปตัววีคว่ำ กดส้นเท้าลงเท่าที่ทำได้ เหยียดหลัง กดฝ่ามือ ศรีษะและคอผ่อนคลาย

9.หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าให้อยู่ตรงกลางระหว่างมือทั้งสองข้าง ปลายเท้าเสมอกับปลายนิ้วมือ เปิดส้นเท้าซ้าย โยกลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย (น้ำหนักอยู่ที่เท้าขวา) เงยคางขึ้น และยืดหลังตรงพร้อมกับยกแขนสองข้างขึ้นเหนือศรีษะ นิ่งค้างไว้ นับ 1-3 หายใจออก ลดแขนทั้งสองข้างลง ปลายนิ้ว แตะพื้นวางข้างเท้าขวา


10.หายใจเข้า ก้าวเท้าซ้ายมาด้านหน้า จนชิดเท้าขวาเหยียดเข่าตรง (หรืองอเข่าเล็กน้อย) ก้มลำตัวและศรีษะมาข้างหน้าจนหน้าผากชิดเข่า วางฝ่ามือราบกับพื้นด้านหน้า ลำตัวเหมือนขั้นตอนที่ 2


11.หายใจเข้า กลับลำตัวสู่ท่ายืนตรงเท้าชิด (ท่าภูเขา) หงายฝ่ามือ แล้ววาดแขนขึ้นด้านข้างเหนือศรีษะ ฝ่ามือประกบกัน แขนเหยียดตรง หายใจออก ลดแขนลงแนบลำตัว 


บทที่ 11 พฤติกรรมและอาหารต้องห้ามหลังการนวด


หลังจากที่ทำการนวดกายผ่อนคลายหายเมื่อยกันไปแล้วก็อย่าเพิ่งสบายใจ เพราะหลังจาการนวดนั้นยังมีข้อปฎิบัติและอาหารต้องห้ามหลังทำการนวดอีก ทั้งนี้เนื่องจากหลังการนวดเส้นเอ็นของเรายังอยู่ในสภาวะคลายตัว ยังไม่ปกติดีนัก ดังนั้นเพื่อให้การนวดเกิดผลสำเร็จ ผู้นวดจึงควรปฎิบัติตนหลังการนวดดังนี้

1.ไม่ควรอาบน้ำ สระผม ดื่มน้ำเย็น ล้างมือ และล้างเท้า ภายใน 1 ชั่วโมงหลังนวด เพราะจะทำให้ลมปราณภายในร่างกายเดินช้าลงเนื่องจากความเย็นภายนอกมากระทบจนอาจทำให้เลือดลมไหลเวียนติดขัด


2.ควรดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสมุนไพรประมาณ 1 แก้ว ภายในครึ่งชั่วโมงหลังการนวด เพราะการกดจุดจะสะท้อนให้กรดแลกติก ถูกขับออกมาทางผิวหนัง น้ำจะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับกรดแลกติกออกมาได้ง่ายขึ้น

3.หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การยกของหนักหรือการออกกำลังกาย เพราะเส้นที่พึ่งคลายจะกลับไปตึงได้ง่ายในช่วงเวลาหลังการนวด


4.ควรหลีกเลี่ยงอาหารแสลงห้าอย่างและหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวด
5.หากเป็นไปได้ผู้รับการนวดควรจะนอนพักผ่อนทันทีที่นวดเพื่อให้กล้ามเนื้อที่กำลังคลายได้ซ่อมแซม และหายปกติไวขึ้น



นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงรับประทานหลังการนวดอีกด้วยเช่น

1.ข้าวเหนียว












2.เครื่งในสัตว์ปีก









3.หน่อไม้









4.เครื่องดื่มแองกอฮอล์ทุกชนิด















5.อาหารหมักดอง

บทที่ 10 การนวดแก้อาการปวดสะโพก


อาการปวดบริเวณสะโพกเป็นอีกหนึ่งปัญหาหนักใจที่หลายคนคงเคยประสบพบเจอ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เกิดอาการนี้แล้วจะทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ลำบาก เนื่องด้วยกระดูกบริเวณสะโพกนี้เป็นกระดูกชิ้นใหญ่ที่ใช้ควบคุมการเดิน อาการปวดสะโพกมักมีอาการปวดขาตามมาด้วย สาเหตุของการปวดสะโพกมักมีสาเหตุเดียวกับอาการปวดขา คือ การยกของหนัก การเดินหรือวิ่งเป็นระยะทางไกล การงอขาเป็นเวลานานหรือการนอนผิดท่า การนวดช่วยบรรเทาอาการปวดสะโพกได้ดี แต่หากมีอาการปวดสะโพกเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุการปวดที่แท้จริง เพราะอาการปวดสะโพกเป็นหนึ่งในสัญญาณอันตรายของโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคกระดูกสันหลัง หรือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นต้น ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายด้วยการนวดแผนโบราณ ต้องรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น




เส้นเอ็นที่ควรรู้ในบทนี้ โดยส่วนใหญ่จะใช้เส้นเดียวกับการนวดขา ดังนี้

เส้นฝ่าเท้า
เส้นร่องนิ้วหัวแม่มือ(เส้นสีแดง)

เส้นร่องนิ้วกลาง(เส้นสีม่วง)

เส้นร่องนิ้วนาง(เส้นสีเขียว)







ส้นขาด้านใน



เส้นเอ็นร้อยหวาย



จุดหัวตะขาบ คือ บริเวณสีข้าง(วงรีสีชมพู)

จุดสลักเพชร คือ จุดที่นูนที่สุดบนสะโพก จะเห็นได้ชัดจากการนอนตะแคง(วงกลมสีแดง)


















วิธีการนวดแก้อาการปวดสะโพก

1.ให้ผู้รับการนวดนอนตะแคง งอขาข้างที่ปวด






2.เริ่มจากขาข้างที่ไม่มีอาการปวด ให้ผู้นวดเริ่มต้นนวดหลังเท้าของผู้รับการนวด โดยไล่กดเส้นฝ่าเท้าทั้ง 3 เส้นด้วยนิ้วหัวแม่มือ











3.ผู้นวดกดไล่เส้นขาด้านในจากบริเวณเหนือข้อเท้าไปสู่ขาพับ








4.ผู้นวดกดไล่เส้นเอ็นร้อยหวายไปสู่ขาพับเช่นกัน 




5.ผู้นวดใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกดทิ้งน้ำหนักลงบนขาด้านบนของผู้รับการนวดไล่จากล่างขึ้นไปจนถึงโคนขาด้านใน







6.ผู้นวดย้ายมือมาที่ขาข้างปวดของผู้รับการนวด กดเส้นขาด้านในไล่ขึ้นจากเหนือข้อเท้าไปจนถึงขาพับ













7.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดเส้นเอ็นร้อยหวายไล่ขึ้น เว้นบริเวณขาพับแล้วนวดขึ้นต่อไปจนถึงบริเวณสะโพก


















8.ผู้นวดกดค้างจุดสลักเพชรเป็นเวลา 10-15 วินาที

















9.ผู้นวดหงายฝ่ามือกดจุดหัวตะคาบค้างอีก 10-15  วินาที



















10.ผู้นวดกดซ้ำที่จุดสลักเพชรอีก 10-15 วินาที






11.ผู้นวดใช้ข้อศอกคลึงให้ทั่วสะโพกของผู้รับการนวด


12.จากนั้นใช้ฝ่ามือคลึงจากขาบนลงมาจนถึงขาล่างเพื่อคลายเส้น

















บทที่ 9 การนวดแก้อาการตะคริวน่อง


ตะคริว เป็นการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ซึ่งมักเป็นที่กล้ามเนื้อแขนและขา โดยทั่วไปตะคริวมักเกิดไม่เกินสองนาที แต่อาจมีบางรายเกิดนานได้ถึงห้านาทีหรือนานกว่านั้น ในบางรายอาจเกิดบ่อยจนทำให้เกิดความทุกข์ทรมานได้ โดยทั่วไปตะคริวมักเกิดกับนักกีฬาที่เล่นกีฬาหนัก ผู้สูงอายุ ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยโรคไตวายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียมและเกิดในตอนกลางคืน แต่ก็อาจเกิดในคนอายุน้อยและเกิดได้ทุกเวลา อาการนี้ถึงแม้จะไม่ส่งผลเสียถึงแก่ชีวิต แต่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ถ้าเกิดระหว่างว่ายน้ำ หรือขับรถ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ การนวดแผนโบราณก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลในการรักษาอาการตะคริว ในบทนี้จะขอสอนแค่การรักษาอาการตะคริวน่องเท่านั้น เพราะส่วนที่เกิดอาการบ่อยที่สุด และเป็นวิธีการที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดสำหรับการบำบัดด้วยตัวเอง




เส้นเอ็นที่ควรรู้ในบทนี้(แนวเส้นเดียวกับเส้นที่ใช้นวดขา)


แนวฝ่าเท้าเส้นร่องนิ้วหัวแม่มือ(เส้นสีแดง)เส้นร่องนิ้วกลาง(เส้นสีม่วง)เส้นร่องนิ้วนาง(เส้นสีเขียว)












แนวเส้นขาด้านใน




วิธีการนวดแก้อาการตะคริวน่อง




1.ผู้รับการนวดนอนหงาย




2.ผู้นวดจับขา(ข้างที่มีอาการ)ของผู้รับการนวดงอเป็นเลข 4

3.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือไล่กด 3 เส้นแนวฝ่าเท้าโดยใช้วิธีการเดียวกับการนวดฝ่าเท้า



4.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดแนวเส้นขาด้านในไล่ขึ้นไปจนเกือบถึงบริเวณขาพับ ระหว่างกดเส้นผู้นวดสามารถใช้มืออีกข้างที่ไม่ได้กดเส้นจับขาของผู้รับการนวด ล็อคขาให้อยู่กับที่เพื่อให้การนวดเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

5.เมื่อไล่กดมาถึงบริเวณขาพับแล้วให้ผู้นวดเปลี่ยนจากนิ้วหัวแม่มือไปใช้อุ้งมือในการกดแนวเส้นขาด้านในช่วงขาบน โดยระหว่างกดเส้นขาบนให้ผู้รับนวดใช้มืออีกข้างจับน่องของผู้รับการนวดเพื่อล็อคไว้ ให้ผู้นวดกดเส้นไล่ขึ้นไปจนเกือบสุดต้นขา

6.ให้ผู้นวดนั่งเฉียงทำมุม 45องศากับขาของผู้รับการนวด จากนั้นสอดขาตนไปใต้ขาพับของผู้รับการนวด แล้วใช้เท้าล็อคหัวเข่าผู้รับการนวดไว้



7.ผู้รับการนวดยกขาอีกขึ้นแล้วใช้เท้ากดถีบไล่ขาด้านบนของผู้รับการนวดขึ้น-ลง








8.ผู้นวดพับขาผู้รับการนวดให้งอดังรูป
9.ผู้นวดใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างโกยเนื้อขาของผู้รับการนวดเข้าขาด้านใน












10.ผู้นวดยกขาของผู้รับการนวดตั้ง 
11.ผู้นวดใช้ 4 นิ้ว(นาง กลาง ก้อย)กดกึ่งกลางน่องไล่ขึ้นลง












12.ผู้นวดประสานฝ่ามือเข้าด้วยกัน จากนั้นใช้บีบให้ทั่วน่องของผู้รับการนวด

บทที่ 8 การนวดบรรเทาอาการปวดบ่า


บ่าก็เป็นอีกอวัยวะหนึ่งเราใช้อาจงานหนักโดยไม่รู้ตัว อาการปวดบ่ามักจะมีอาการปวดคอร่วมด้วย ทั้งนี้อาการปวดบ่า เกิดได้หลายสาเหตุ ทั้งจากการทำงาน ท่าทางหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ถือของหนัก ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น หากปล่อยไว้อาจจะทำให้มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดคอ ไหล่ หลังส่วนบน หรือสะบัก การนวดแผนโบราณด้วยวิธีถูกต้องสามารถทุเลาอาการปวดบริเวณบ่าลงได้ แต่หากมีอาการปวดบ่าเรื้อรังควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่ถูกต้อง ไม่ควรใช้วิธีการนวดบำบัดอย่างเดียว เพราะการปวดบ่าเรื้อรังอาจนำมาซึ่งภัยแฝงที่คุณไม่รู้ตัว เช่น  กล้ามเนื้อบ่าหรือคออักเสบเรื้อรัง กระดูกคอเสื่อม เอ็นกล้ามเนื้อหัวไหล่อักเสบ ไหล่ติด กล้ามเนื้อบริเวณสะบักอักเสบ หรืออาจจะมีหมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท หรือมีเส้นประสาทตึงได้

แนวเส้นเส้นที่ควรรู้ในบทนี้



เส้นแนวบ่า(เส้นสีน้ำเงิน)
จุดกดบ่าหลัง(วงกลมสีแดง)(จุดเชื่อมกระดูกคอกับกระดูกสะบัก)












วิธีการนวดบรรเทาอาการปวดบ่า

1.ผู้รับการนวดนั่งตัวตรง ผู้นวดยืน

2.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดไปตามเส้นแนวบ่าไล่ไปจนถึงบริเวณโค้งคอ














3.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดบ่าหลังโดยเริ่มกดเบาๆแล้วค่อยๆเพิ่มแรง ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง








4.ผู้นวดคว่ำฝ่ามือลงวางบนบ่าของผู้รับการนวด จากนั้นค่อยๆทิ้งน้ำหนักลงบนบ่าของผู้รับการนวดช้า วิธีการนี้จะเป็นการคลายเส้นบริเวณบ่าและสะบัก จะทำให้ผู้การนวดรู้สึกผ่อนคลายและสบายบริเวณนี้












5.หลังจากที่ทำการนวดบ่าครบทั้งสองข้างแล้วให้ผู้รับการนวดใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างบีบแนวไหล่ไล่จากโค้งคอไปจนถึงหัวไหล่ ทำซ้ำประมาณ 4-5 ครั้ง

บทที่ 7 การนวดบรรเทาอาการปวดสะบัก


สะบัก คือ บริเวณแผ่นหลังส่วนบน ช่วงตั้งแต่ใต้ท้ายลงมาจนถึงไหล่ อาการปวดสะบักมีสาเหตุเดียวกับการปวดหลัง คือการนั่งทำงานเป็นเวลานาน การอยู่ในอิริยาบถที่ผิด เช่น นั่ง ยืน หรือเดินหลังค่อม การยืนหรือเดินเป็นเวลานาน การยกของหนัก ความเครียด เป็นต้น การปวดสะบักรักษาได้ด้วยการนวดแผนโบราณ  แต่ผู้ที่มีอาการปวดสะบักบ่อยหรือปวดเรื้อรัง ควรแก้ไขท่าทางอิริยาบถของตนให้ถูกต้อง เช่น พยายามหลีกเลี่ยงการงอหลังให้มากที่สุด การนั่ง ยืนหรือเดินจะต้องยืดตัว หลังตั้งตรง เพื่อที่กล้ามเนื้อส่วนนี้จะได้ไม่ตึงและเกิดโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อตามมาในภายหลัง ไม่เช่นนั้นแม้แต่การนวดแผนไทยก็ไม่อาจรักษาให้หายได้


แนวเส้นเอ็นที่ควรรู้ในบทนี้



1.แนวร่องสะบัก(เส้นสีดำ) 

2.แนวจุดร่องสามเหลี่ยม(เส้นสีแดง)















วิธีการนวดแก้อาการปวดสะบัก

1.ผู้รับการนวดนั่งตัวตรง
2.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดแนวร่องสะบักไล่ขึ้นลง


















3.จับแขนผู้รับการนวดงอขึ้น สอดแขนตนเข้าในข้อศอกผู้รับการนวดแล้วงัดแขนขึ้น






4.ผู้นวดใช้อุ้งมือบีบบริเวณชายโครงของผู้รับการนวดเบาๆ














5.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือกดไล่เส้นแนวจุดร่องสามเหลี่ยมขึ้นลง






 6.ผู้นวดใช้กำปั้นทุบคลายสะบักของผู้รับการนวดเบาๆ

บทที่ 6 การนวดบรรเทาอาการปวดเมื่อยฝ่ามือ


ฝ่ามือเป็นอวัยวะที่เราใช้งานมากรองลงมาจากขา ในวันหนึ่งเราจะใช้ฝ่ามือในการหยิบจับสิ่งของหรือสื่อสารอย่างอวัจนภาษาด้วยท่าทางต่างๆ ถือเป็นอวัยวะที่มีความจำเป็นต่อคนเรามาก  หากฝ่ามือถูกใช้งานอย่างหนัก เช่น การเขียนหนังสือ วาดรูป หรือการพิมพ์ดีดเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือเกิดอาการล้าและนำมาซึ่งอากาปวดฝ่ามือได้ การนวดแผนโบราณเป็นทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาอาการปวดฝ่ามือได้แต่ผู้ที่มีอาการปวดฝ่ามือต้องตรวจเช็คอาการให้ดีก่อนว่าอาการปวดฝ่ามือที่เป็นอยู่นั้นไม่ใช่อาการปวดฝ่ามืออันเกิดจาก โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งมีสาหตุเดียวกับการปวดเมื่อยฝ่ามือธรรมดา เพียงแต่อาการที่เป็นจะรุนแรงกว่าและไม่สามารถรักษาด้วยการนวดแผนโบราณได้
                 


จุด 3 จุดที่ควรรู้ในบทนี้


   จุดที่ 1 เนินฝ่ามือบริเวณนิ้วหัวแม่มือ(วงกลมสีแดง)               

  จุดที่ 2 เนินฝ่ามือบริเวณนิ้วก้อย(วงกลมสีน้ำตาล)                 

   จุดที่ 3 เนินกลางฝ่ามือ(วงกลมสีม่วง)











วิธีการนวดฝ่ามือ

1.ผู้รับการนวดนั่งตัวตรงหงายฝ่ามือให้ผู้นวด
2.ผู้นวดใช้นิ้วก้อยของตนสอดลงร่องในนิ้วก้อยและร่องนิ้วหัวแม่มือของผู้รับการนวด



3. ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างกดลงบนจุดเนินกลางฝ่ามือ












4.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 คลายเส้นโดยการ กดรีดนิ้วไปให้ทั่วฝ่ามือ












5.กางฝ่ามือของผู้รับการนวดให้กว้าง กดจุดที่ 1 ค้างไว้สักสิบวินาทีแล้วบีบคลายเบาๆ











6.ผู้นวดกดจุดที่ 2  ค้างไว้สักสิบวินาทีแล้วบีบคลายเบาๆ









7.ผู้นวดกดจุดที่ 3 ค้างไว้สักสิบวินาทีแล้วบีบคลายเบาๆ







8.ผู้นวดใช้นิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทั่วฝ่ามือผู้รับการนวดเพื่อคลายเส้น











9.จับมือของผู้รับการนวดคว่ำลง ผู้นวดสอดนิ้วหัวแม่มือตนลงในร่องนิ้วหัวแม่มือของผู้รับการนวด จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทั่วหลังมือ โดยเน้นบริเวณร่องนิ้วทุกนิ้ว
10.กดร่องนิ้วโป้งค้าง 10 วินาที














11.ผู้นวดดึงนิ้วทั้ง 5 ของผู้รับการนวดโดยกะแรงพอประมาณ


12.ผู้นวดประสานฝ่ามือเข้ากับผู้รับการนวด กดง่ามนิ้วของผู้รับการนวดทีละนิ้ว