วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2555

บทที่ 1 รู้ไว้ก่อนนวด


การนวดแผนไทย เป็นภูมิปัญญาอันล้ำค่าของคนไทยที่สั่งสมสืบทอดมาแต่โบราณ คนไทยเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือกันเองเมื่อปวดเมื่อย  เจ็บป่วย รู้จักการผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการบีบ นวด ยืด  เหยียด  ดัดดึงตนเอง หรือรู้ไว้ช่วยเหลือผู้อื่น  การนวดเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลที่อบอุ่นเริ่มจากคนในครอบครัวด้วยสื่อสัมผัสแห่งความรักและความเอื้ออาทร  ถ่ายทอดความรู้จากการสั่งสมประสบการณ์จากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง  จนกระทั่งมีหลักในการปฏิบัติและมีวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และการนวดเป็นศิลปะของการสัมผัสที่สร้างความรู้สึกอบอุ่น ผ่อนคลายความเมื่อยล้า  ทำให้เรารู้สึกสดชื่นทั้งร่างกายและจิตใจ  การนวดแผนไทยจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ


วิธีการนวดแผนโบราณ
       
ในกานวดแผนโบราณมีวิธีการนวดต่าง ๆ ดังนี้  
  1. การนวด  การใช้น้ำหนัก  กดลงบนส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย น้ำหนักที่กดจะทำให้ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืดคลาย การนวดไทยเน้นมักจะใช้น้ำหนักของร่างกายเป็นแรงกด
  2. การบีบ เป็นการใช้น้ำหนัก กดลงบนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในลักษณะ 2 แรงกดเข้าหากัน
  3. การคลึง  การใช้น้ำหนัก กดคลึง เป็นการกระจายน้ำหนักกดบนส่วนนั้น การคลึงให้ผลในการคลายใช้กับบริเวณที่ไวต่อการสัมผัส เช่น กระดูก ข้อต่อ
  4. การถู  การใช้น้ำหนักถู เพื่อทำให้ผิวหนังเกิดการยืดขยายรูขุมขนเปิด วิธีนี้นิยมใช้กับยาหรือน้ำมันเพื่อให้ตัวยาซึมเข้าได้ดี
  5. การกลิ้ง  การใช้น้ำหนักหมุนกลิ้ง ทำให้เกิดแรงกดต่อเนื่องไปตลอดอวัยวะ ทั้งยังเป็นการยืด กล้ามเนื้ออีกด้วย
  6. การหมุน  การใช้น้ำหนักหมุนส่วนที่เคลื่อนไหวได้คือ ข้อต่อ เพื่อให้พังผืด เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อต่อ ยืดคลายการเคลื่อนไหวดีขึ้น
  7. การบิด  จะมีลักษณะคล้ายกับการหมุน
  8. การดัด  การใช้น้ำหนักยืด ดัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นพังผืดให้ยืดกว่าการทำงานปกติ เพื่อให้เส้นหย่อนคลาย
  9. การทุบ  การใช้น้ำหนักทุบ ตบ สับ ลงบนกล้ามเนื้อให้ทั่ว
  10. การเขย่า  การใช้น้ำหนักเขย่ากล้ามเนื้อ เพื่อกระจายความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อให้ทั่ว
 ลักษณะการนวดแผนโบราณ  แบ่งออกเป็น  3  ลักษณะ
1.               การนวดยืด ดัด ลักษณะการนวดแบบนี้คือ การยืด ดัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด ให้ยืดคลาย
2.               การนวดแบบจับเส้น ลักษณะการนวดคือ การใช้น้ำหนักกดลงตลอดลำเส้นไปตามอวัยวะต่าง ๆ การนวดชนิดนี้ค้องอาศัยความเชื่ยวชาญของผู้นวด ซึ่งได้ทำการนวดมานานและสังเกตถึงปฏิกิริยาของแรงกดที่แล่นไปตามอวัยวะต่าง ๆ
3.               การนวดแบบกดจุด ลักษณะการนวดคือ การใช้น้ำหนักกดลงไปบนจุดของร่างกาย การนวดนี้เกิดจากประสบการณ์และความเชื่อว่าอวัยวะของร่างกายมีแนวสะท้อนอยู่บนส่วนต่าง ๆ และเราสามารถกระตุ้นการทำงานของอวัยวะนั้นโดยการกระตุ้นจุดสะท้อนที่อยู่บนส่วนต่าง ๆ บนร่างกาย


เทคนิคการนวดแผนโบราณ
1. นวดด้วยนิ้วหัวแม่มือ วิธีกดนวดแบบนี้ใช้ผิวหน้าของนิ้วหัวแม่มือส่วนบน ไม่ใช่ปลายนิ้วหรือปลายเล็บจิกลงไป
2. นวดด้วยฝ่ามือ เหมาะสำหรับการนวดบริเวณที่มีพื้นที่กว้าง น้ำหนักตัวที่ทิ้งลงไปที่ฝ่ามือจะช่วยทำให้การนวดด้วยวิธีนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนวดได้ 3 ลักษณะกล่าวคือ
        2.1 นวดด้วยท่าประสานมือ
        2.2 นวดด้วยท่าผีเสื้อบิน
        2.3 นวดโดยวางมือห่างจากกันเล็กน้อย
3. นวดด้วยนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างพร้อมกัน วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นเส้นพลังต่าง ๆ โดยการเลื่อนนิ้วไปตามแนวเส้น เว้นช่องว่างระหว่างนิ้วทั้งสองข้างประมาณ 2-3 ซม.
4. กดนวดด้วยเท้า นิยมใช้วิธีการกดนวดบริเวณที่กว้างและมีส่วนเว้าส่วนโค้งอย่างน่องขาหรือต้นขาที่ค่อนข้างแข็งแกร่งของผู้รับการนวด ในขณะที่การใช้ส้นเท้านวดจะเหมาะสำหรับการนวดในท่าที่ต้องการแรงกดมาก ๆ
5. กดนวดด้วยเข่า การกดนวดด้วยเข่ามักจะนิยมใช้ในท่าที่มือจำเป็นต้องไปจับอวัยวะส่วนอื่นอยู่ ซึ่งจะถ่ายเทน้ำหนักได้ดี นิยมใช้ในการนวดต้นขาส่วนล่างและสะโพก
6. ยืนกด การใช้ท่านี้จะต้องระวังการยืนให้ดี ควบคุมให้ได้ว่าจะทิ้งน้ำหนักตัวไปส่วนไหนจึงจะไม่เป็นอันตรายและเกิดประโยชน์กับผู้รับการนวดมากที่สุด มักนิยมยืนคร่อมต้นขาของผู้รับการนวด
7. กดนวดด้วยข้อศอก นิยมใช้ปลายข้อศอกแหลม ๆ กดลงไป มักกดบริเวณต้นขา สะโพกและไหล่ ที่มีกล้ามเนื้อค่อนข้างหนา มีไขมันสะสมมาก
8. กดนวดด้วยท่อนแขน ถ้าหากผู้รับการนวดรู้สึกเจ็บ ให้ใช้วิธีการนวดด้วยท่อนแขนแทน เพราะจะรู้สึกนุ่มนวลขึ้นมากเลยทีเดียว
เมื่อรู้จักท่าพื้นฐานของการนวดแล้วต่อไปเรามารู้จักอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ประกอบการนวดและการแต่งกายที่เหมาะสมในการนวดและรับการนวดบำบัดกันค่ะ

อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการนวดแผนโบราณ



1.เตียง เพื่อให้ผู้รับการนวดได้ผ่อนคลายหายปวดล้า จึงจำเป็นต้องจัดที่นอนที่สบายให้แก่ผู้รับการนวด โดยเตียงที่ใช้สำหรับการนวดนั้นจะต้องมีฟูก หมอน และผ้าห่มให้ครบครัน








2.ยาหม่อง บางครั้งผู้รับการนวดมีอาการเส้นตึง ยาหม่องที่มีตัวยาสมุนไพรจะช่วยแก้อาการได้ดีหากทาไปพร้อมกับทำการนวดจับเส้น








3.น้ำมันนวด มีคุณประโยชน์ในการเป็นผู้ช่วยให้ผู้นวดสามารถจับเส้นนวดได้ถูกต้อง ตรงจุด ทั้งยังมี กลื่นหอมทำให้ผู้รับการนวดรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัวมากขึ้น









4.ลูกประคบ หากผู้รับการนวดมีอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวช่วยในการนวดได้นอกจากยาหม่องคือ ลูกประคบที่ทำจากสมุนไพรไทยนั่นเอง









การแต่งกายของผู้นวดและผู้รับการนวด

ผู้นวด ควรแต่งกายเรียบร้อย เพราะการนวดแผนโบราณเป็นการแสดงออกทางวัฒธรรมไทยอีกทางหนึ่ง ผู้นวดจึงต้องเคารพต่อศาสตร์การนวดแผนโบราณด้วย เลือกเครื่องแต่งกายที่กระฉับกระเฉง เนื้อผ้าสบายตัว ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่ร้อนอบอ้าว ควรสวมกางเกง













ผู้รับการนวด ควรเลือกเครื่องแต่งกายที่กระฉับกระเฉง สบายตัวไม่ควรรัดรูป ควรสวมกางเกงที่พับได้ง่ายเพื่ออำนวยความสะดวกเวลาจับเส้นและไม่ควรสวมเสื้อแขนยาว  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น